Arduino Yun
บอร์ด Arduino Yún (ATmega32U4, Atheros AR9331) (ด้านหน้า)
Arduino Yun เป็นบอร์ดในกลุ่มบอร์ด Arduino ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega32U4 ไปต่อกับชิป Wi-Fi ที่อยู่บนบอร์ดอีกตัวคือ Atheros AR9331 จาก MIPS ที่ใช้ใน Wi-Fi Router และได้ติดตั้ง Linino ซึ่งเป็น Linux จาก Arduino ที่ต่อยอดมาจาก OpenWRT การเชื่อมต่อมีทั้ง SPI และ UART ซึ่งคาดว่าการต่อแบบ UART คงต่อเป็น Serial Port เพื่อใช้งาน Linux ผ่าน Terminal และ SPI คงเหมือนกับ Ethernet Shield และนอกจาก Ethernet และ Wi-Fi แล้ว ที่บอร์ด Atheros AR9331 ก็มีพอร์ต USB host ด้วย
Arduino Yun มีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น มี 14 digital input/output pins, 7 pulse width modulation(PWM) channels และ 12 analog inputs นอกจากนั้น ยังมี 16 MHz crystal oscillatior และ microUSB connector รวมถึง Standard-A type USB connection และ PoE compatible microSD card socket เพื่อให้เก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อ Arduino Yun เริ่มทำงานครั้งแรกจะทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi และสร้างเครือข่าย Wi-Fi ชื่อ "Arduino" จากนั้นผู้ใช้สามารถตั้งค่าบอร์ด ได้ ด้วยการใส่ชื่อและรหัสผ่านของเครือข่าย Wi-Fi
สำหรับคำว่า Yun (ยวิ๋น) เป็นภาษาจีน แปลว่า เมฆ การใช้คำว่าเมฆ เพื่อต้องการสื่อสารว่าเป็น Cloud ซึ่งไม่ได้ใช้แค่ Wi-Fi ที่มีบอร์ดในการสื่อสาร แต่ใช้การติดตั้งโปรแกรมลงสู่ตัว Arduino Yun แบบไร้สาย หรือผ่าน Cloud (และ web service) ด้วย
บอร์ด Arduino Yún ฺ[ATmega32U4, Atheros AR9331 (5V/16MHz)]
Arduino Due
บอร์ด Arduino Due (AT91SAM3X8E, 3.3V/84MHz)
Arduino Due เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ซึ่งเป็นชิป Atmel AT91SAM3X8E ซึ่งเป็นตระกูล ARM Cortex-M3
Arduino Due เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ รุ่นแรกของ Arduino ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิต และมีพอร์ตดิจิตอลอินพุตเอาต์พุต จำนวน 54 ขา โดยเป็นโมดูล PWM จำนวน 12 ช่อง, แอนะล๊อกอินพุต 12 ช่อง, UART จำนวน 4 ช่อง, DAC จำนวน 2 ช่อง, I2C จำนวน 2 ช่อง, โมดูล CAN และสัญญาณนาฬิกาที่มีความถี่ 84 MHz และรองรับการทำงานของอุปกรณ์ USB ในแบบ USB-OTG ซึ่งถือว่าเป็นบอร์ดที่มีความสามารถสูง ในราคาที่ไม่แพง
โดย Arduino Due ต้องใช้กับ ซอฟแวร์ Arduino IDE เวอร์ชั่น 1.5 ขึ้นไป
***คำเตือน ต้องใช้เข้าบอร์ด เพื่อให้บอร์ดทำงาานได้ที่ 3.3V เท่านั้น ถ้ามากกว่านี้จะส่งผลให้บอร์ดเสียหายได้***
Arduino Yun
บอร์ด Arduino Yún (ATmega32U4, Atheros AR9331) (ด้านหน้า) |
Arduino Yun เป็นบอร์ดในกลุ่มบอร์ด Arduino ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega32U4 ไปต่อกับชิป Wi-Fi ที่อยู่บนบอร์ดอีกตัวคือ Atheros AR9331 จาก MIPS ที่ใช้ใน Wi-Fi Router และได้ติดตั้ง Linino ซึ่งเป็น Linux จาก Arduino ที่ต่อยอดมาจาก OpenWRT การเชื่อมต่อมีทั้ง SPI และ UART ซึ่งคาดว่าการต่อแบบ UART คงต่อเป็น Serial Port เพื่อใช้งาน Linux ผ่าน Terminal และ SPI คงเหมือนกับ Ethernet Shield และนอกจาก Ethernet และ Wi-Fi แล้ว ที่บอร์ด Atheros AR9331 ก็มีพอร์ต USB host ด้วย
Arduino Yun มีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น มี 14 digital input/output pins, 7 pulse width modulation(PWM) channels และ 12 analog inputs นอกจากนั้น ยังมี 16 MHz crystal oscillatior และ microUSB connector รวมถึง Standard-A type USB connection และ PoE compatible microSD card socket เพื่อให้เก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อ Arduino Yun เริ่มทำงานครั้งแรกจะทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi และสร้างเครือข่าย Wi-Fi ชื่อ "Arduino" จากนั้นผู้ใช้สามารถตั้งค่าบอร์ด ได้ ด้วยการใส่ชื่อและรหัสผ่านของเครือข่าย Wi-Fi
สำหรับคำว่า Yun (ยวิ๋น) เป็นภาษาจีน แปลว่า เมฆ การใช้คำว่าเมฆ เพื่อต้องการสื่อสารว่าเป็น Cloud ซึ่งไม่ได้ใช้แค่ Wi-Fi ที่มีบอร์ดในการสื่อสาร แต่ใช้การติดตั้งโปรแกรมลงสู่ตัว Arduino Yun แบบไร้สาย หรือผ่าน Cloud (และ web service) ด้วย
บอร์ด Arduino Yún ฺ[ATmega32U4, Atheros AR9331 (5V/16MHz)] |
Arduino Due
บอร์ด Arduino Due (AT91SAM3X8E, 3.3V/84MHz) |
Arduino Due เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ซึ่งเป็นชิป Atmel AT91SAM3X8E ซึ่งเป็นตระกูล ARM Cortex-M3
บอร์ด Arduino Due USB Port |
ข้อมูลเชิงเทคนิคเปรียบเทียบระหว่างบอร์ด Arduino Yun กับ บอร์ด Arduino Due
เนื่องจากบอร์ด Arduino Yun มีการประมวลผล 2 ที่ คือ ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega32U4 และชิป Wi-Fi Atheros AR9331 ข้อมูลเชิงเทคนิคจะแสดงลักษณะของแต่ละอันในตาราง ดังต่อไปนี้
Detail
|
Arduino Yun
|
Arduino Due
|
Micro controller | ATmega32u4 | AT91SAM3X8E |
Operating Voltage | 5V | 3.3V |
Input Voltage (recommended) | 5V | 7-12V |
Input Voltage (limits) | 5V | 6-16V |
Digital I/O Pins | 20 (7 PWM) | 54 (12 PWM) |
Analog Input Pins | 12 | 12 |
Analog Outputs Pins | - | 2 (DAC) |
Total DC Output Current on all I/O lines | 40 mA | 130 mA |
DC Current for 3.3V Pin | 50 mA | 800 mA |
DC Current for 5V Pin | - | 800 mA |
Clock Speed | 16 MHz | 84 MHz |
Flash Memory | 32 KB (of which 4 KB used by bootloader) | 512 KB all available for the user applications |
SRAM | 2.5 KB | 96 KB (two banks: 64KB and 32KB) |
EEPROM | 1 KB | - |
Costs | €52.00 + VAT (ประมาณ 2761.03 บาท ยังไม่รวมภาษี) | €36.00 +VAT(ประมาณ 1911.48 บาท ยังไม่รวมภาษี) |
Linux microprocessor | ||
Processor | Atheros AR9331 | - |
Architecture | MIPS @400MHz | - |
Operating Voltage | 3.3V | - |
Ethernet | IEEE 802.3 10/100Mbit/s | - |
WiFi | IEEE 802.11 b/g/n | - |
USB Type-A | 2.0 Host | - |
Card Reader | Micro-SD only | - |
RAM | 64 MB DDR2 | - |
Flash Memory | 16 MB | - |
สรุป
ส่วน Arduino Yun เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้ Wifi ในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น ถ้าต้องการสร้างเครื่องบินบังคับที่ถูกควบคุมโดยแอพพลิเคชั่น บนแอนดรอยด์ ก็ควรจะใช้ Wifi ในการเชื่อมต่อระหว่างสองอุปกรณ์
เพราะอย่างนั้น จึงไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่า อะไรที่คุ้มค่ามากที่สุด แต่ความคุ้มค่าจะขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานให้ถูกต้องและเหมาะสม
แหล่งอ้างอิง http://arduino.cc/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น